แฝดคู่แรกของประเทศไทยก็คือ อิน - จัน พ . ศ . 2354
เกิดสิ่งมหัศจรรย์ของโลก ฝาแฝด อิน - จัน ฝาแฝดไทย อิน - จัน เป็นฝาแฝดตัวติดกัน เป็นแฝดคู่แรกของโลกอิน กับจัน เป็นเด็กฝาแฝดติดกันคู่แรกของโลกที่มีอายุยืนยาวที่สุดถึง 62 ปีและได้รับบันทึกลงในกินเนสส์บุ๊ก แต่ก่อนฝรั่งไม่เคยพบเห็นเด็กฝาแฝดที่มีร่างกายติดกันพอมาพบเด็กแฝดชาวไทย ชื่ออินกับจัน จึงเรียกเด็กฝาแฝดติดกันว่า Siamese Twin(Siamese = ชาวสยาม, Twin = ฝาแฝด)เมื่อปลายรัชกาลที่ 3 มีเด็กคลอดออกมาจากครรโภทรหญิงชื่ออำแดงไข่(อำแดงเป็นคำนำหน้าเรียกหญิงสมัยก่อน) เป็นภรรยาชาวจีนมีอาชีพขายหอมกระเทียมอำแดงไข่เป็นชาวบางช้าง เมื่อคลอดออกมาแล้วเด็กนั้นเป็นชายทั้งคู่มีสายสะดือติดกันห่างยาวหนึ่งศอกกับสี่นิ้ว เด็กนั้นหน้าเหมือนกันราวกับพิมพ์เดียวกันฝ่ายมีสเตอร์ฮันเดอร์ชาวอังกฤษ ตั้งห้างอยู่หน้าวัดประยูรวงศ์มีสเตอร์ฮันเดอร์ของซื้อเด็กนั้นจากบิดามารดาเป็นเงินพันบาทครั้นต่อมามีกัปตันเรือค้าขายของอังกฤษเข้ามากรุงเทพฯกัปตันผู้นั้นซื้อเด็กแฝดไปจากมีสเตอร์ฮันเตอร์ในราคาประมาณหมื่นบาทกัปตันผู้นั้นพาเด็กฝาแฝดไปขายให้ชาวอเมริกาหลายหมื่นบาทชาวอเมริกาผู้นั้นพาเด็กฝาแฝดไปสำแดงกาย ให้มหาชนดูจนได้เงินหลายแสนหลายโกฏิภายหลังเด็กนั้นใหญ่จนมีอายุได้มากแล้วก็มีภรรยาเป็นชาวอเมริกันทั้งสองคนนั้น มั่งมีสีสุกเป็นเศรษฐีใหญ่ คนพี่มีบุตร 6 คน คนน้องมีบุตร 9 คน ใน พ . ศ . ระหว่างเดินทางจากลิเวอร์พูลไปนิวยอร์ก จันป่วยกระเสาะกระแสะอยู่แล้ว ก็เกิดเป็นอัมซีกขวา นอกจากป่วยแล้วจันยังหูหนวกและดื่มจัดอีกด้วย สุขภาพของอินจึงพลอยเสื่อมโทรมลงด้วย ในวันที่ 12 มกราคม 2414 จันก็ป่วยเป็นโรคหลอดลมอักเสบรุนแรง วันที่ 17 มกราคม 2417 จันก็เสียชีวิตลงพออินรู้ว่าจันตายก็ตกใจอย่างสุดขีด และสองชั่วโมงต่อมาอินก็สิ้นใจเพราะความกลัว รวมอายุได้ 63 ปีปัจจุบันนี้มีผู้สืบเชื้อสายรุ่นเหลน และโหลนของ ฝาแฝดอิน จัน ที่มีชีวิตอยู่มากกว่าหนึ่งพันคนน.ส.ทันย่า รีส และนางเบ็ตตี้ บุนเกอร์ แบล็คมัน (ซึ่งเป็นผู้สืบเชื้อสายของ อิน และจัน)เล่าว่า.."ครอบครัวของอินจันมีลูกหลานฝาแฝดถึง 4 คู่ แต่ไม่มีคู่ไหนร่างกายติดกันส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในนอร์ธแคโรไลน่า ประเทศสหรัฐอเมริกาบางคนเป็นดำรงตำแหน่งสำคัญในสหรัฐฯเช่น ประธาน Union Pacific railroadและนายพลแห่งฐานทัพอากาศสหรัฐฯส่วนน.ส.ทันย่า รีส นั้นดำรงตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงของสภาศิลปะเซอเรย์ในเมาท์แอรี่ นอร์ธแคโรไลน่าลูกหลานของ อิน กับ จัน ส่วนใหญ่จะใช้นามสกุล บุนเกอร์ หรือบังเกอร์ที่เป็นเช่นนี้เพราะ อิน กับ จัน ใด้นามสกุลนี้จากเพื่อนบ้านนั้นเองเรียบเรียงจากหนังสือสยามประเภท ของ ก.ศ.ร.กุหลาบ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น